Bangpakok Hospital
  • A
  • A
  • A
BPK Hotline

ภาวะวูบหมดสติ สัญญาณอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

12 พ.ค. 2566


ภาวะวูบหมดสติ เกิดจากอะไร
 ?
   ภาวะวูบหมดสติ (Syncope) เป็นอาการสูญเสีย ความรู้สึกตัว และการทรงตัวชั่วคราว โดยทั่วไปเกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองลดลงชั่วขณะ ทำให้สมองขาดออกซิเจนชั่วคราวจะมีลักษณะอาการเฉพาะ คือ หมดสติเฉียบพลัน เกิดขึ้นชั่วขณะในระยะเวลาอันสั้น และสามารถฟื้นคืนสติ ได้เองจะแสดงออกทางอาการหลากหลาย เช่น
  • เรียกไม่รู้สึกตัว
  • ล้มลงกับพื้น ทรงตัวไม่อยู่
  • อาจมีอาการเกร็งที่มือ เท้า ตาค้างชั่วขณะ
  • เหงื่อออกที่ใบหน้า
  • ป่วยจะจำเหตุการณ์ตอน หมดสติไม่ได้ โดยจะมีระยะเวลาการหมดสติ ตั้งแต่ 30 วินาที ถึง 5 นาที ขึ้นกับสุขภาพพื้นฐานเดิมของผู้ป่วย ขณะที่ผู้ป่วยบางราย อาจจะมีอาการนำมาก่อนเกิดอาการวูบหมดสติ เช่น รู้สึกหวิว ๆ มึนศีรษะ โคลงเคลง ตาพร่า หรือเห็นแสงแวบวาบ ปลายมือ ปลายเท้าเย็น คลื่นไส้ เป็นต้น อาการวูบไม่รู้ตัวเป็นเรื่องที่ อันตรายมากโดยเฉพาะคนที่ต้องทำงานบนที่สูง หรือผู้ที่ ต้องขับรถ หากมีอาการวูบบ่อย ๆ ควรพบแพทย์ประเมิน หาสาเหตุ
สาเหตุของภาวะวูบหมดสติ
  • เกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ เส้นเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ
  • เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ ซึ่งมักพบตามหลังสถานการณ์เฉพาะบางอย่าง เช่น หลังไอ จาม เบ่ง ยืนนานๆ ในที่แออัด หรืออากาศร้อน กลัวการเจาะเลือด เป็นต้น
  • เกิดจากการเสียเลือด หรือขาดน้ำ เช่น ท้องเสียรุนแรง หรือมีเลือดออกในอวัยวะภายใน
  • เกิดจากยาบางชนิด โดยเฉพาะยาลดความดันโลหิตสูง ยารักษาต่อมลูกหมาก ยาต้านอาการซึมเศร้า หรือแม้แต่ยาเบาหวาน สิ่งที่เป็นอันตราย เป็นอาการสูญเสียความรู้สึกตัว และการทรงตัวชั่วคราว โดยทั่วไปเกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองลดลงจะส่งผลให้เกิดอันตราย เช่น อุบัติเหตุบนท้องถนนหรือขณะทำงานกับเครื่องจักร เป็นต้น โดยเฉพาะบางอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง เช่น พนักงานขับรถ นักบิน นักประดาน้ำ คนงานก่อสร้าง ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุซ้ำเติมจากการภาวะวูบได้
  • ในผู้สูงอายุพบมากถึง 23%
  • พบอุบัติการณ์ของภาวะนี้ในคนทั่วไป 3%
  • ผู้ที่เคยมีอาการวูบหมดสติมีโอกาสเกิดซ้ำได้อีกถึง 1 ใน 3 เท่า
อาการวูบที่ควรพบแพทย์
  • วูบแล้วหมดสติ-ชัก
  • มีอาการหน้าเบี้ยวร่วมด้วย
  • หัวใจเต้นผิดปกติ หรือในผู้สูงอายุรวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัว
สิ่งที่ควรต้องระวัง
   หลังจากผู้ป่วยตื่นขึ้นมาอาจมีอาการ บาดเจ็บได้ การรักษาควรจะต้องรักษาที่สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ แต่ถ้าหากวูบหมดสติตื่นขึ้นมาแล้วมีอาการ เช่น ปากเบี้ยว ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด ชา หรืออ่อนแรงร่างกายครึ่งซีก อาจเป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติภาวะทางสมองอาการของหลอดเลือดสมองตีบ หรือหลอดเลือดสมองแตกได้  ผู้ป่วยหรือผู้ใกล้ชิดควรต้องสังเกตอาการวูบที่เกิดขึ้น และควรรีบไปพบแพทย์ทันที
การปฎิบัติเพื่อป้องกันการเกิดอาการวูบ
 ควรหมั่นดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง อยู่สม่ำเสมอ ตรวจสุขภาพประจำปี รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ดื่มน้ำต่อวันให้เพียงพอ พักผ่อนให้เต็มที่ และที่สำคัญต้องหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ปัจจัยเหล่านี้ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยป้องกันอาการวูบได้
 

อ้างอิงข้อมูล
     กรมการแพทย์



Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.